วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ประจำเดือน มิถุนายน 2552 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2552

จัดทำบทความโดย
น.ส.สุดารัตน์ คงแป้น ID.5001103053

เรื่อง:รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ประจำเดือน มิถุนายน 2552 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2552


กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายนและระยะ 6 เดือนแรกของปี 2552 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 417 รายการ ครอบคลุม หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2552
ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2552 เท่ากับ 104.7 (เดือน พฤษภาคม 2552 คือ 104.3)

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2552 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.4
2.2 เดือนมิถุนายน 2551 ลดลงร้อยละ 4.0
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือน ( มกราคม - มิถุนายน ) ปี 2551 ลดลงร้อยละ 1.6

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2552 เทียบกับ เดือนพฤษภาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 ( เดือนพฤษภาคม 2552 ลดลงร้อยละ 0.3 ) สาเหตุสำคัญเนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรัฐบาลได้ลดการสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับการให้เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค(ค่าน้ำประปา ) ลงในพื้นที่บางจังหวัด และการปรับสูงขึ้นของราคาบุหรี่และสุราและเครื่องดื่มที่มีแออกอฮอล์อื่นๆ จากภาษีสรรพาสามิตของรัฐบาลซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนก่อนหน้า ประกอบกับราคาอาหารสดบางชนิด ราคายังทรงตัวสูง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ เครื่องประกอบอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และนมและผลิตภัณฑ์นม สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ผักและผลไม้ ไข่ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.4 ( เดือนพฤษภาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ) ปัจจัยสำคัญเนื่องจากราคาอาหารหลายชนิดได้มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ผักและผลไม้ ร้อยละ -3.5 ได้แก่ แตงกวา เห็ด ถั่งฝักยาว มะเขือเจ้าพระยา มะนาว เงาะ แตงโม ฝรั่ง มังคุด และลองกอง เป็นผลจากปริมาณผลผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและเป็นช่วงฤดูกาลของผลไม้บางชนิดตั้งแต่เดือนก่อนหน้า ไข่ ร้อยละ -1.7 (ไข่ไก่ และไข่เป็ด ) เนื้อสุกร ร้อยละ -0.5 สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น คือ ข้าว ร้อยละ +0.1 ( ข้าวสารจ้าวและข้าวสารเหนียว) ไก่สด ร้อยละ +0.8 ปลาและสัตว์น้ำ ร้อยละ +0.2 เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ +0.3 ( น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส น้ำปลา ซีอิ๊วและซอสหอยนางรม) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ +0.2 ( เครื่องดื่มรสชอกโกแลต กาแฟและชา สำเร็จรูปพร้อมดื่ม ) อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ +0.1 ( อาหารว่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และปลากระป๋อง ) และผลไม้สดบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน มะม่วง มะละกอสุก และกล้วยน้ำว้า เป็นต้น
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 เป็นอัตราที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ( เดือน พฤษภาคม 2552 ลดลงร้อยละ 0.5 ) ปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศโดยเฉลี่ย ร้อยละ +7.9 ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ+7.7 (บุหรี่และสุรา ) เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับภาษีสรรพสามิตสูงขึ้นตั้งแต่เดือนที่แล้ว ค่าน้ำประปา ร้อยละ +0.3 ผลจากรัฐบาลได้ลดการสนับสนุนมาตรการให้เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภคในส่วนของค่าน้ำประปาลงในพื้นที่บางจังหวัด และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ร้อยละ +0.1 ( ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้าและก้อนดับกลิ่น ) ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ร้อยละ -0.6 ( แผ่นไม้อัด และปูนซีเมนต์ ) และของใช้ส่วนบุคคลบางชนิด ( สบู่ถูตัว น้ำหอมและแปรงสีฟัน )

4. ถ้าพิจารณาดัชนีเทียบกับเดือนมิถุนายน 2551 ลดลงร้อยละ 4.0 เป็นอัตราที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ -17.5 ( น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ ) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา ร้อยละ -10.0 ( ค่าเล่าเรียน,ค่าธรรมเนียมการศึกษา,หนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ) หมวดหมวดเคหสถาน ร้อยละ -5.0 ( ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา )และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ -3.4 ( เครื่องแบบนักเรียนอนุบาลและมัธยมชาย,หญิง ) สำหรับดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น ร้อยละ 3.8 ( เนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ) สำหรับดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่สูงขึ้น คือ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ร้อยละ +13.3 (ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ) และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ร้อยละ +1.5 ( ค่ายาและเวชภัณฑ์และค่าของใช้ส่วนบุคคล )

5. ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ยเทียบกับช่วงระยะ6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน ) ปี 2551 ลดลงร้อยละ 1.6 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ -25.3 ค่ากระแสไฟฟ้า ร้อยละ -25.5 และค่าน้ำประปา ร้อยละ -36.7 และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ -0.9 ( เครื่องแบบนักเรียนอนุบาลและมัธยมชาย,หญิง ) เป็นสำคัญ สำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 7.4 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 7.6

6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 117 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2552 เท่ากับ 102.5 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤษภาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
6.2 เดือนมิถุนายน 2551 ลดลงร้อยละ 1.0
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ6 เดือน ( มกราคม- มิถุนายน ) ปี 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.7

โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนมิถุนายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือน พฤษภาคม2552 สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ค่าน้ำประปา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เครื่องประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น


ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์

คำถาม

1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2552 เทียบกับ เดือนพฤษภาคม 2552 สูงขึ้นร้อยละเท่าไร

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศคำนวณจากรายการสินค้าและบริการจำนวนกี่รายการ

3.จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 417 รายการ ครอบคลุมหมวดใดบ้าง (ยกตัวอย่าง 3ข้อ)

3 ความคิดเห็น:

  1. 1.สูงขึ้นร้อยละ0.4
    2.300รายการ
    3.ครอบคลุมหมวด 1.อาหารและเครื่องดื่ม 2.เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3.เคหสถาน

    น.ส.นภพร สุขเกษม รหัส 5001103065 c1/2

    ตอบลบ
  2. 1. สูงขึ้นร้อยละ 0.4
    2.คำนวณ 300 รายการ
    3. 1.การบันเทิง 2.การอ่าน 3.การศึกษาและการศาสนา

    น.ส.จรันยา ไตรยัญสุวรรณ เลขทะเบียน 5001103109

    ตอบลบ
  3. 1. สูงขึ้นร้อยละ 0.4
    2.คำนวณ 300 รายการ
    3.1.การบันเทิง 2.การอ่าน 3.ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

    น.ส ศิริมล ขวัญดำ 5001103067 c 1/2

    ตอบลบ